สวัสดีครับเพื่อน ๆ ถ้าจะพูดถึง Olympus OM-D E-M10 รีวิว เพื่อน ๆ ก็คงจะรู้จกกันดีถึงคุณภาพนะครับ เพราะว่ามันกล้องมีสเปคที่ค่อนข้างดีมาก ๆ เลย โอเคในทุก ๆ ด้าน มีช่องมองภาพ ราคาก็ไม่ได้แรงมาก ๆ ด้วย ที่สำคัญที่สุด หน้าตาดูดี สวยงามทีเดียว ทำให้กล้อง Olympus OM-D E-M10 II ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าตัวที่เรากำลังจะรีวิวนี้ ติดอันดับกล้องที่คุณภาพดีที่สุดตัวนึงเลยครับ
และในตอนนี้ เมื่อรุ่นที่ 3 อย่างเจ้า Olympus OM-D E-M10 III ได้ทำการเปิดตัวขึ้นมา ทาง Olympus ครับ ก็ได้ส่งเจ้านี่มาให้เราได้รีวิวกัน หน้าตาของรุ่นนี้ก็คล้าย ๆ กับรุ่น 2 อยู่ครับ มีจุดที่ต่างกันอยู่ไม่กี่จุดเองครับ
– Sensor MOS ความละเอียด 16.1 Megapixel
– ระบบป้องกันภาพสั่นไหว 5 แกน
– หน้าจอทัชสกรีนขนาด 3.0 นิ้ว สามารถปรับองศาได้
– บันทึกวิดีโอคุณภาพความละเอียดระดับ 4K
฿24,990
รายละเอียดต่าง ๆ ของกล้อง Olympus OMD EM10 Mark III
สเปค Olympus OMD EM10 Mark III
- ตัวเซ็นเซอร์ MicroFourThird มีความละเอียด 16 MP
- ระบบประมวลผลแบบ TruePicTM VIII
- มีระบบโฟกัส Contrast AF 121 จุด
- ระบบกันสั่นในตัวกล้อง 5 แกน ทาง Olympus เครมว่าสามารถลด Shutter
- Shutter ได้มากถึง 4 Stops (เมื่อใช้กับเลนส์ 14-42 mm f/3.5-5.6
- Speed Shutter ความเร็ว 1/4000-60 วินาที (Mechanical Shutter) 1/16000-30 วินาที (Electronic shutter)
- ถ่ายรูปต่อเนื่องได้ 8.6 ภาพต่อวินาที
- ISO 200-25600 (ขยายได้ถึง 100)
- View Finder มีความละเอียดสูง 2.36 ล้านพิกเซล ครอบคุม 100%
- มีหน้าจอสัมผัสขนาด 3.2 นิ้ว มีความละเอียด 1.040 ล้านพิกเซล สามารถปรับขึ้นได้ถึง 85 องศา และปรับลงได้ 45 องศา
- สามารถถ่ายวิดีโอที่มีความละเอียด 3840 × 2160 (4K) / 30p, 25p, 24p / IPB (Bitrate 102 Mbps)
- มีโฟกัส 121 จุด แบบ Contrast
- รองรับ SD Card ความเร็ว UHS-I
- Micro USB/Micro HDMI/Wi-Fi
- แบตเตอรี่รุ่น BLS-50 เครมว่าสามารถใช้ถ่ายได้ถึง 330 ภาพต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
สามารถใช้กล้องได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 10℃ ไปจนถึงถึง +40℃ - มีน้ำหนัก 410 กรัม (รวมแบตเตอรี่ และ เมมโมรี่การ์ดเรียบร้อยแล้ว) 362 กรัม (ไม่รวมแบตเตอรี่ และ ไม่รวมเมมโมรี่การ์ด)
- ขนาด W:121.5mm H:83.6mm D:49.5mm
Background
ชื่อของกล้องรุ่นนี้คือ E-M10 ครับ เป็นชื่อรุ่นกล้องของซีรี่ย์ OM-D ความโดดเด่นของซีรี่ย์นี้ก็คือ มีช่องมองภาพอยู่บริเวณตรงกลางครับ ทำให้เราจะเห็นตัวบอดี้กล้อง มีลักษณะเป็นกะโหลกสูง ๆ ยื่นขึ้นมาบริเวณด้านบน ๆ ความแตกต่างระหว่างรุ่น OM-D กับ PEN อยู่ที่ PEN จะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สามารถถ่ายเซลฟี่ได้ และขนาดที่มาจะมีขนาดเล็กกว่าหน่อยนึงครับ
ในส่วนของซีรี่ย์ OM-D นั้นจะมี E-M10, E-M5 และ E-M1 ซึ่งถ้าตัวเลขน้อยนั้น หมายถึงสเปคจะแรงขึ้นนั่นเอง ส่วนเจ้า E-M10 จัดว่าเป็นรุ่นเล็กที่สุดของซีรี่ย์นี้นั่นเองครับ ไม่ใช่ว่าสเปครุ่นนี้ไม่ค่อยดีนะครับ แต่ว่าไม่ถึงขั้นแรงเว่อร์ต่างหากครับ
ตอนนี้เมื่อ E-M10 ได้เข้ามาสู่เวอร์ชั่นที่ 3 เรียบร้อยแล้ว จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้จะมารีวิวให้เพื่อน ๆ ได้ทราบรายละเอียดกันครับ โดยจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง เพื่อน ๆ จะได้ทราบเดี๋ยวนี้เลยครับ ไปกันเลย
เซนเซอร์
สำหรับเซนเซอร์ที่ใช้ในกล้องรุ่นนี้ครับ เป็นเซนเซอร์ Micro Four Thirds (เราต้องเอาเลขตัวบนคูณกับ 2 ครับ จะได้ระยะเทียบเท่านั่นเอง) มีความละเอียด 16.1 ล้านเท่าเดิมครับ เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนอาจจะผิดหวังว่า ทำไมไม่ปรับเซนเซอร์ให้สูง ๆ ซักที ผมว่าเขาคงจะเอาไว้ให้กล้องรุ่นสูง ๆ น่ะครับ
แต่ความจริงแล้วนะครับ ขนาดของรูปจากไฟล์ 16 ล้านพิกเซล ก็ถือว่าใช้ได้ดีมาก ๆ แล้วนะครับ ถ้าจะไม่เหมาะก็คงจะเป็นงานแนว ๆ Commercial เท่านั้นครับ
รูปจาก medium.com
ขนาดของรูปที่ใหญ่ที่สุดก็คือ 4608 x 3456 และ Ratio ที่เมีความหมาะสมของรูปคือ 4:3 ตามชื่อเซนเซอร์เลยล่ะครับ
เซนเซอร์ตัวนี้จัดได้ว่าเป็นเซนเซอร์ที่ไม่ได้ใหญ่มากมายนะครับ แต่เซนเซอร์ขนาดนี้ก็สามารถถ่ายรูปได้สวยงามมาก ๆ เลยนะครับ เพราะเลนส์ของรุ่นทั้งหมดมันจะเล็กหมดเลย เมื่อเทียบกับตัวกล้องที่ใช้เซนเซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า จุดแข็งของเขาคือสามารถพกพาได้อย่างสะดวกสบายนั่นเอง
ชัตเตอร์
ในส่วนของชัตเตอร์นั้นมี 2 แบบ คือ แบบปกติ และแบบอิเล็กทรอนิกส์ และแน่นอนครับว่า กล้องรุ่นนี้มีโหมด Silent มาให้เราได้ใช้งานกันด้วย โหมดชัตเตอร์นี้ถือว่ามีประโยชน์มาก ๆ เวลาถ่ายจะไม่รบกวนคนรอบข้าง หรือรบกวนสัตว์ที่เราไปถ่ายรูปเลย เงียบมาก ๆ ครับ
รูปจาก medium.com
ระบบกันสั่น
แบรนด์ Olympus กับระบบกันสั่นนั้น เป็นสิ่งที่คู่กับ Olympus มานานแล้ว ตัดกันไม่ขาดเลย สำหรับกันสั่นที่มาให้ใน E-M10 III เป็นกันสั่นแบบ 5 แกน มีความสามารถลดการสั่นไหวได้ถึง 4 สเต็ปครับ นับได้ว่าเยอะมาก ๆ ถ้าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ อย่าง 1/10 วินาที ต้องบอกเลยครับว่าได้สบาย ๆ หายห่วงเลยครับ
รูปนี้ยืนถ่ายแบบนิ่ง ๆ เป็นเวลา 1 วินาที ยังโอเคอยู่ครับ
รูปจาก medium.com
ส่วนรูปนี้ได้วางพาดกับราวเหล็กที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใช้ชัตเตอร์ 6 วินาทีในการถ่ายครับ ตอนแรกนึกว่าจะถ่ายได้ไม่ดีแล้ว แต่พอลองถ่ายดูก็ใช้ได้อยู่เหมือนกันครับ
รูปจาก medium.com
ถือได้ว่าเป็นระบบกันสั่นที่มีประสิทธิภาพดีครับ ใช้การได้ดีทีเดียว อีกส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับการกลั้นหายในในการถ่าย และการถือกล้องของเราให้นิ่งที่สุดเท่านั้นเองครับ
ช่องมองภาพ
รูปจาก medium.com
กล้องรุ่นนี้ครับ ได้ชื่อว่าเป็น OM-D เลยต้องยอมรับว่าจะไม่ได้มีช่องมองภาพมาให้นั่นเอง ความละเอียดจะอยู่ที่ 2.36 ล้าน ในเมนูของกล้องรุ่นนี่้นะครับ มีออปชั่นให้เราปรับอุณหภูมิ และความสว่างของรูปได้ครับ
หน้าจอ
รูปจาก medium.com
ในส่วนของหน้าจอ มีขนาด 3 นิ้ว และมีความละเอียด 1.04 ล้านครับ สามารถพับขึ้นลงได้ แต่เซลฟี่ไม่ได้ครับ หน้าจอเป็นแบบจอสัมผัสครับ ทำให้เราสามารถควบคุมการใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบายมาก ๆ โดยเฉพาะการเลือกจุดโฟกัสครับ อยากได้ตรงไหนเราก็จิ้มได้เลยทันที
การโฟกัส
รูปจาก medium.com
กล้องตัวนี้มีจุดโฟกัสมาทั้งหมด 121 จุดครับ และยังคงเป็น Contrast Detection เหมือนกล้องรุ่นก่อน ถ้าพูดถึงความเร็ว เร็วมาก ๆ จริง ๆ ครับ ถ้าเราสั่งให้กล้องจับโฟกัสในจุดที่มีคอนทราสต์ แบบนี้ไม่ต้องคอยเลยเร็วจี๋ ถ้าถ่ายรูปทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันตามปกติ ไม่เสียอารมณ์แน่นอน
แต่ถ้าเกิดเราจะใช้กล้องไปถ่ายงานที่ต้องเอาไปโฟกัสแบบต่อเนื่อง จับภาพที่มีความเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ถ้าเป็นในส่วนนี้เราก็ต้องระมัดระวังไว้อย่างนึงนะครับ เพราะกล้องอาจจะคำนวนโฟกัสภาพไม่ทัน อาจจะถ่ายได้ไม่อย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของการโฟกัสในวิดีโอครับ เราสามารถที่จะแตะจอเพื่อทำการเลือกจุดโฟกัสได้ และเมื่อเปลี่ยนจุดโฟกัส กล้องตัวนี้จะค่อย ๆ ปรับเลนส์เข้าไปหาจุดโฟกัสอย่างช้า ๆ อย่างนุ่มนวล แต่ว่าเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนความเร็วการเปลี่ยนจุดโฟกัสได้นั่นเองครับ
การถ่ายรูปต่อเนื่อง
กล้อง Olympus OMD EM10 Mark III สามารถถ่ายรูปต่อเนื่องเร็วที่สุด อยู่ที่ที่ประมาณ 8.6 รูปต่อวินาที เรียกได้ว่าเร็วมาก ๆ เลยนะครับ ไม่ต้องกังวลเลย สบายมาก
วิดีโอ
OMD EM10 ตัวนี้ได้ใส่ 4K (3840 × 2160) มาให้ในตัวเลยครับ ที่ 30fps, 25fps และ 24fps ส่วน FHD (1920 x 1080) เฟรมเรตสุดที่ 60fps แต่กล้องตัวนี้ไม่ได้มีช่องต่อไมค์มาให้ครับ
รูปจาก medium.com
ภายในตัวของกล้อง จะมีฟังก์ชั่นนึงที่ชื่อว่า Clip คือ เราสามารถถ่ายวิดีโอ และตัดต่อได้ภายในกล้องตัวนี้ได้เลย และอีกอย่างเราสามารถเอาเพลงมาใส่มร SD Card เพื่อนำเพลงใส่เข้าไปใน Clip ของเราได้ครับ
ต่อมาครับ ในเมนูวิดีโอ จะมีโหมด High-speed Movie มาด้วยคือสามารถถ่ายแบบสโลว์โมชั่นที่ 120fps ครับ
ปุ่มต่าง ๆ และการควบคุม
ปุ่มต่าง ๆ ของกล้องจะอยู่ตำแหน่งเดิมทั้งหมดนะครับ แต่ส่วนที่แตกต่างที่เพิ่มเข้ามา จะอยู่ที่ด้านหลังครับ
รูปจาก medium.com
ปุ่มสำหรับกดขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา จะมีสกรีน ISO และเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามาครับ กล้องรุ่นที่แล้วไม่ได้มีแบบนี้ ปุ่มของกล้องรุ่นเดิมจะเป็นแบบเปลือย ๆ นั่นเอง
รูปจาก medium.com
ถ้าแบบเดิม ๆ เวลาที่เราจะเข้าสู่เมนูลัดนะครับ เราต้องกดปุ่ม OK เพื่อเข้าไป แต่ตอนนี้ปุ่มนั้นได้ย้ายมาอยู่บริเวณด้านบนครับ อยู่ข้าง ๆ ปุ่มเปิดปิด ต้องที่ผมชี้ในรูปครับ แต่ถ้าไมี่ชอบ ก็ปรับย้ายมาไว้ที่ปุ่ม OK แบบเดิมก็ไม่มีปัญหาครับ
ในส่วนของปุ่มลัดนี้ เพื่อน ๆ ได้ใช้งานบ่อยแน่ ๆ เพราะนอกจากที่เราจะใช้เป็นปุ่มสำหรับเข้าเมนูลัดแล้ว เรายังใช้เป็นปุ่มเลือกลูกเล่นในโหมด SCN และ AP อีกด้วยนั่นเอง
รูปจาก medium.com
ต่อมาอันนี้จะเป็นหน้าตาเมนูลัดครับ ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป ยังเหมือนของเดิม สำหรับใครที่ยังใหม่สำหรับกล้องแบรนด์นี้ อาจต้องใช้เวลาลองเล่นลองศึกษาซักหน่อย แต่ก็ไม่ได้ยากมากครับ
รูปจาก medium.com
เมนู Silent Shutter ตามปกติแล้วจะต้องอยู่แถว ๆ บริเวณนี้ครับ แต่ตอนนี้มันได้หายไปจากเมนูลัดซะแล้วล่ะ ไปโผล่อยู่ในโหมด AP แทนครับ
ส่วน Dial เปิดปิดกล้อง จะไปอยู่บริเวณทางด้านซ้าย ถ้าเราดันขึ้นจนเลยตำแหน่ง ON ไป มันจะเป็นการดันให้แฟลชเด้งออกมาเตรียมพร้อมใช้งานครับ
รูปจาก medium.com
ในส่วนของแฟลชที่เด้งขึ้นมานั้น เราไม่สามารถดันมันไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าในรูปได้นะครับ เลยอด Bounce กับเพดานเลยล่ะ
รูปจาก medium.com
จะมี Dial สำหรับปรับความเร็วชัตเตอร์กับรูรับแสงมาให้อย่างครบถ้วนครับ และมันจะมีปุ่มอยู่ปุ่มนึงครับ ตรงบริเวณข้าง ๆ ปุ่มสำหรับกดวิดีโอ จะเป็นรูปเหมือนไฟฉาย X2 ตรงนี้จะเป็นปุ่มครอปภาพสองเท่าครับ
รูปจาก medium.com
เวลาที่เรากดปุ่มนี้นะครับ ภาพจะซูมเข้าไปถึง 2 เท่า ช่วยในเรื่องที่ว่า ถ้าเราซูมภาพไปจนสุดแล้ว แต่เราอยากจะซูมเข้าไปอีก หรือใช้ในเวลาที่เราจะถ่ายอะไรบางอย่าง ที่มันห่างออกไปมาก ๆ แต่บริเวณรอบ ๆ รกและเราไม่ได้ต้องการครับ
รูปจาก medium.com
ผลลัพธ์จากการที่เราซูมนะครับ จะออกมาลักษณะแบบนี้ครับ ก็ดีเหมือนกันนะเข้าท่ามาก
รูปจาก medium.com
ในส่วนของเมนูข้างในตัวกล้องนั้น เราสามารถกดเข้ามนูต่าง ๆ ได้ด้วยการกดปุ่ม Menu ที่ด้านหลัง เมนูยิบ ๆ ย่อย ๆ มีมากมายเลยครับ อาจจะต้องงมหาซักหน่อยนึงครับ สีของเมนูก็เปลี่ยนไปจากรุ่นเดิมอยู่พอสมควร เดมจะเป็นสีน้ำเงินครับ เปลี่ยนใหม่เป็นสีดำ-เขียว
รูปจาก medium.com
ระบบประมวลผลใหม่
รูปจาก medium.com
กล้อง E-M10 III ใส่ระบบประมวลผลตัวเดียวกับ E-M1 II มาครับ ซึ่งความเร็วในการประมวลผลนี้เข้าขั้นเร็วจี๋เลยล่ะครับ
โหมด SCN
ในส่วนของโหมด SCN นี้นะครับ จะเป็นโหมดของคนที่ไม่ค่อยชอบคิดอะไรมากมายครับ หรือขี้เกียจทำความเข้าใจอะไรเยอะแยะก็สามารถเข้ามาในนี้ได้เลยครับ โดยโหมดนี้เขาจะรวมสถานการณ์แบบต่าง ๆ มากมายในการถ่ายรูปไว้ให้เรา เราก็เพียงแค่จิ้มเลือกในสิ่งที่เราต้องการได้เลย ทีเหลือเดี๋ยวกล้องจะเซ็ทค่าต่าง ๆ ให้เราเองครับง่ายดี
มีหลายโหมดเลยนะครับที่เขาเอามารวมไว้ให้กับเราในโหมด SCN จริง ๆ ก็มีอยู่ในกล้องรุ่นก่อนอยู่แล้ว แต่ก็มีบางคนนะครับที่เคยใช้กล้องรุ่นก่อนหน้านี้มา ก็ยังงง ๆ ว่ากล้องนี้มีโหมดแบบนี้ด้วยหรอ มารุ่นที่ 3 ก็เลยนำออกมาให้ใช้กันแบบง่าย ๆ ชัดเจนกันไปเลยครับ
รูปจาก medium.com
สำหรับโหมดที่ชอบมาที่สุดใน SCN ก็คือ โหมด Light Trails หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าลากไฟครับ โหมดนี้มีความจำเป็นต้องใช้กับขาตั้งกล้องด้วย เมื่อเราใช้งานโหมดนี้ครับ กล้องจะทำการปิดกันสั่น และลากไฟให้ดูแบบ Real Time เลย ตรงนี้ไม่ต้องกังวลว่าแสงจะน้อยไปหรือมากไปนะครับ กล้องจะคิดให้เราเสร็จสรรพเลย
แล้วเราจะเห็นบนหน้าจอตลอดเลยครับ ว่ามีแสงแบบไหนบ้างที่จะเข้ามาในรูปของเรา เรารอจนกว่าเราจะพอใจได้เลยครับ ถ้าเราดูแล้วเราพอใจ ถูกใจแล้ว เราก็กดชัตเตอร์ซ้ำเพื่อเซฟรูปเลย
รูปจาก medium.com
ข้อดีอีกข้อนึงของโหมดนี้ก็คือ มันถ่ายลากแบบนี้ในเวลาบ่ายแก่ ๆ ได้อีกด้วย ลองถ่ายตอนเวลาประมาณ 5 โมงเย็น ก็ได้ภาพที่สวยงามเหมือนกัน ตามปกติครับเราจะไม่ค่อยได้ถ่ายรูปแนว Long Exposure ก่อนตะวันตกดินกันอยู่แล้ว เพราะแสงมากเกินไปนั่นเอง แต่โหมดนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้เราได้ครับ
รูปจาก medium.com
โหมด AP (Advance Photo)
โหมด AP โหมดนี้ก็จะเป็นลูกเล่นอีกแบบนึงซึ่งมีความแอดวานซ์ขึ้นมาอีกหน่อย พวก Silent พาโนรามา และ Live Composite ก็จะมารวม ๆ อยู่ตรงจุดนี้ด้วยล่ะครับ
รูปจาก medium.com
ในส่วนของฟังก์ชั่น HDR จะอยู่ใน AP เหมือนกันครับ โหมดนี้มีไว้เพื่อการถ่ายแบบย้อนแสงครับ จากรูปนี้นะครับไม่ใช้ HDR จะเห็นว่ามีส่วนที่มืดในภาพค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว
รูปจาก medium.com
ต่อมาครับ รูปนี้เป็นรูปที่ได้มาจากโหมด HDR จะเห็นได้เลยครับว่าส่วนที่มืด จะสว่างขึ้นมากเลย แต่จะสังเกตเห็นอย่างนึงคือ รูปทั้งรูปจะมีคอนทราสต์ลดลงครับ
รูปจาก medium.com
และรูปนี้จะเป็นโหมด AE Bracket หรือการถ่ายรูปด้วยค่าแสงที่ต่างกัน จะทำให้รูปหลาย ๆ รูปที่มี่มีความสว่างที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นครับ เราอาจเลือกรูปที่เราถูกใจมากที่สุด ชอบที่สุดรูปเดียวออกมา หรือจะเอามารวมรูปกันให้ได้ผลลัพธ์แบบ HDR ก็ได้ครับ
รูปจาก medium.com
ส่วนโหมดที่เราชอบที่สุดใน AP เลยนะครับ ก็คือ Multiple Exposure หรือก็คือการซ้อนรูปสองรูปเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง ชอบมาก ๆ เลยครับ สร้างสรรค์มาก ๆ ง่าย ๆ แต่ได้ภาพสวยแปลกตาดี
รูปจาก medium.com
บอดี้กล้อง น้ำหนัก และการจับถือ
รูปจาก medium.com
บอดี้ของกล้องตัวนี้ครับ จะมีน้ำหนักประมาณ 410 กรัม รวมแบตและ SD Card เข้าไปแล้ว หน้าตาของกล้องจะมาแบบเดิม ๆ ครับ คือการย้อนยุค ส่วนสีของกล้องเราสามารถเลือกได้ 2 สี คือ ดำกับเงิน ตัวบอดี้จะไม่ Weather Sealed เพราะฉะนั้นถ้าเอาไปเที่ยวแล้วต้องเจอน้ำ เจอฝุ่นก็ถนอม ๆ หน่อยนะครับ
รูปจาก medium.com
ในส่วนด้านหน้า และด้านหลังจะมีกริปมาด้วย กริปบริเวณด้านหน้ายื่นมาไม่มากครับ ก็ไม่ค่อยจะเต็มไม้เต็มมือซักเท่าไร แต่ก็ทดแทนด้วยการที่กริปด้านหลังครับ ตรงที่เราเอาไว้วางนิ้วโป้ง ตรงจุดนี้ทำออกมาได้ค่อนข้างดีเลย ช่วยทำให้เราสามารถจับได้กระชับมากยิ่งขึ้นทีเดียว
รูปจาก medium.com
เลนส์คิต
ในส่วนของเลนส์คิตจะเป็น 14–42 mm f3.5–5.6 ใช้ถ่ายทั่ว ๆ ไป ระยะที่กว้างสุด (เทียบเท่า28mm) จะได้องศาประมาณกล้องมือถือทั่วไปนั่นเองครับ
รูปจาก medium.com
ราคา
บอดี้ของ Olympus OM-D E-M10 mark iii ราคาล่าสุด พร้อมเลนส์คิต 14–42 mm ราคาเริ่มต้น 29,990 บาท ราคาจะเท่ารุ่นสองทีเปิดตัวใหม่ ๆ เลยล่ะครับ
ข้อดี
- หน้าตาสวยงามดี
- มีช่องมองรูป
- กันสั่นดีสุดยอด
- มีปุ่มปรับเยอะ ปรับค่าทั่วไปต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว
- โฟกัสวัตถุทั่ว ๆ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก ๆ
- หน้าจอสามารถพับขึ้นลงได้พอประมาณ ทัชสกรีนช่วยเลือกจุดโฟกัสได้ง่ายดี
- มี 4K และ สามารถตัดต่อวิดีโอในกล้องได้ทันที
- โหมด SCN กับ AP ทำออกมาได้น่าสนใจมาก ๆ
- บอดี้กล้องมีขนาดเล็ก กินเนื้อที่ไม่มาก
- เลนส์มีให้เลือกหลากหลายตัว และมีขนาดเล็กแทบทั้งสิ้น
ข้อสังเกต
- กริปด้านหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็ก เน้นถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วโป้งด้านหลัง ถ้าใคร
- ชอบจับกริปแบบเต็มมืออาจจะไม่ค่อยอิน
- เซนเซอร์ยังคงเป็นแบบ 16 ล้าน
- ตัวบอดี้กล้องไม่ Weather Sealed
- โหมด Silent หายไปจากเมนูลัด
- การโฟกัสเป็นแบบจับคอนทราสต์ บางครั้งเวลาถ่ายอะไรเคลื่อนไหวเร็ว ๆ อาจจะไม่ค่อยทัน
สรุป
สำหรับเจ้า Olympus OM-D E-M10 III ตัวนี้ครับ เป็นกล้อง Mirrorless ที่ออกแบบมาให้เราใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่ได้ยากมากเลยครับ และยังได้มีการอัพเกรดสเปคอื่น ๆ เข้ามาเสริมอีกด้วย เป็นกล้องสำหรับคนที่ไม่ค่อยชอบกล้องตัวใหญ่ ๆ หนัก ๆ สามารถพกพกไปใช้งานได้อย่างสะดวกจริง ๆ
และการถ่ายรูปจะเป็นลักษณะกลาง ๆ นะครับ คุณภาพจะไม่ถึงขั้นระดับพรีเมี่ยมขนาดนั้น อาจจะไม่เหมาะแก่การถ่ายไปส่งให้ลูกค้านะครับ แต่คุณภาพของรูปที่ถ่ายด้วยกล้องตัวนี้ ก็ถือว่ามีคุณภาพที่ดีเลยล่ะครับ
ถ้าเพื่อน ๆ อยากจะลองดูกล้องตัวอื่น ๆ สามารถลองเข้าไปดูได้เพิ่มเติมที่ กล้อง Mirrorless ยี่ห้อไหนดี รุ่นไหนดี 2019 จะมีกล้องรุ่น ๆ อีกหลายตัวที่น่าสนใจครับ อย่างไรก็ตามขอให้เพื่อน ๆ สนุกสนานกับการท่องเที่ยวถ่ายรูปเล่น ด้วยกล้อง Mirrorless ที่เรานำมาฝากในวันนี้กันนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://medium.com